วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หลักการพิจารณาของกรรมการ สำหรับพระเครื่องเนื้อเงิน วัดระฆัง

  จากประสบการณ์ตรงในการส่งพระเนื้อโลหะ เนื้อเงิน เข้าประกวดในการประกวดครั้งที่ผ่านๆมา ทำให้ทราบถึงหลักการพิจารณา พระเครื่องเนื้อเงินจาก กรรมการตัดสินพระประจำโต๊ะ ดังต่อไปนี้

1.พิจารณาจากความสวยงามสมบูรณ์ของพิมพ์ทรง
2.พิจารณาจากสภาพ สภาพของเนื้อวัสดุจะต้องคงเดิมไม่มีการปรุงแต่งหรือขัดล้างผิว

จากภาพจะเห็นได้ว่าภาพทางซ้ายมือ(1) เป็นพระกริ่ง พิมพ์พระประธาน รุ่น 122 ปี วัดระฆัง เนื้อเงิน องค์นี้เป็นของผมเองครับ จะเห็นได้ว่าสภาพผิว ขาว สดใส สว่าง สะอาด พระสร้างตั้งแต่ ปี 2537 ซึ่งขนาดนี้ปี 2556 เกือบยี่สิบปีแล้วแต่พระก็ยังคงใหม่อยู่ ซึ่งโลหะเงิน ไม่ทำปฏิกิริยาใดๆกับความชื้นในอากาศและแปลงสภาพผิวไปเลย จึงมีการสัณนิษฐานกันว่าอาจมีการล้างผิว ขัดผิวมา
ซึ่งแตกต่างจาก ภาพทางขวามือ(2) เป็นพระกริ่ง พิมพ์พระประธาน รุ่น 122 ปี วัดระฆัง และเนื้อเงินเช่นเดียวกัน แต่สภาพผิวขององค์พระ เป็นธรรมชาติ คงสภาพเดิม หากส่องดูจะเห็นสายเส้นโลหะสมบูรณ์ ซึ่งองค์นี้จำไม่ได้เช่นกันว่าเป็นพระของใคร ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ขออนุญาตนำภาพมาเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานนะครับ ขอขอบคุณเจ้าของพระไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ  หากในการพิจารณาเพื่อการประกวด พระที่มีสภาพเดิม อย่างองค์ทางขวามือ จะได้คะแนนมากกว่าทางซ้ายมือครับ เนื่องจากกรรมการมองว่า มีสภาพเดิมๆ ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ
แต่ถ้าหากนำมาใช้บูชาขึ้นคอ องค์ทางซ้ายมือก็สวยงามควรค่าแก่การบูชาเช่นกันครับ พระรุ่นเดียวกัน พิธีดี พิธีเดียวกัน บูชาได้ สบายใจครับ

                                                                                                           ขอบคุณครับ
                                                                                            ศ.วัชรากร / ชมรม พระสมเด็จฯร่วมสมัย




2.ผิวเนื้อเงิน ผิวเดิมเป็นธรรมชาติ
1.ผิวเนื้อเงิน ลักษณะมีการตกแต่งผิว

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ที่มาของต้นแบบ ต้นตำรับ พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์


   พระคง ลำพูน กรุเก่า เนื้อดิน อายุประมาณ หนึ่งพันปี เป็นพระพิมพ์ต้นแบบพิมพ์ปรกโพธิ์ ของพระสมเด็จทั้งสองวัด สวยงามคลาสสิค ล้ำค่าทั้งสองยุคสองสมัย พุทธศิลป์ถ่ายทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น เฉกเช่นเดียวกันกับพระพุทธศาสนา น่าภูมิใจและน่าอัศจรรย์มากครับ วันเวลาผ่านมานับพันปี แต่ศิลปะและศาสนาก็ยังคงดำรงอยู่


                                                                                                           By ศ.วัชรากร
                                                                                                  ชมรม พระสมเด็จฯร่วมสมัย
                                                                                                      Pra-Somdej Associate

วิธีการเก็บรักษาพระผงสมเด็จ เบื้องต้น

       เนื่องจากบ้านเราเมืองเรา เป็นเมืองที่มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
ทำให้มีทั้งความชื้น เชื้อรา และแมลงที่ไม่พึงประสงค์อาศัยอยู่ร่วมกับเราในสภาพแวดล้อมทั่วๆไป

       ลักษณะทางกายภาพของพระผงสมเด็จทั้งของวัดระฆังและบางขุนพรหม วัสดุและส่วนผสมส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยผงเก่า ผงปูน สิ่งที่เป็นอาหาร เช่น กล้วยน้ำว้า ข้าวสุก น้ำมัน พืชดอกไม้บูชาพระ เป็นต้น ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้ อาจเป็นอาหารอันโอชะ ของแมลงกินพระ หรือบางท่านเรียกกันว่า "ศิษย์สมเด็จโต"

                                               
                                                         แมลงกินพระ หรือ ศิษย์สมเด็จโต

แน่นอนหากปล่อยทิ้งไว้ พระสวยๆ ลวดเส้นชัดๆของเรา ก็จะมีแผล มีตำหนิ เว้า แหว่ง ไปได้ ถึงตอนนั้นท่านคงจะเสียใจและเสียดายมิใช่น้อยแน่นอนครับ

วิธีการเก็บรักษาพระและป้องกันแมลงกินพระ ในเบื้องต้น

1.จัดเก็บพระสมเด็จในภาชนะหรือกล่อง ที่ไม่ได้สัมผัสอากาศโดยตรง เช่น ในซองพลาสติก หรือในกล่องสแตนเลส

2.ในบริเวณที่จัดเก็บพระ เช่น ในตู้เก็บพระ หรือ กล่องเก็บพระ ให้ใส่ซองกันชื้น แบบเดียวกันกับที่ใส่ในซองขนมนั้นแหละครับ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เบเกอรี่ทั่วไป
                                                              ซองกันความชื้น ดูดความชื้น

3. ในบริเวณที่จัดเก็บพระ เช่น ในตู้เก็บพระ หรือ กล่องเก็บพระ ให้ใส่เม็ดพริกไทแห้ง แบบเดียวกันกับที่ใช้ทำอาหารนั้นแหละครับ ตามภาพ กลิ่นของพริกไท จะช่วยกลบกลิ่นฟีโลโมน ของแมลงและมดได้ครับ
                                      เม็ดพริกไทแห้ง ช่วยกลบกลิ่นฟีโลโมนของแมลงกลิ่นพระ

เป็นทริคเล็กๆครับ ขอให้สะสมและเก็บรักษาพระกันอย่างมีความสุขนะครับ

                                                                                                             By ศ.วัชรากร
                                                                                                  ชมรม พระสมเด็จฯร่วมสมัย
                                                                                                      Pra-Somdej Associate